ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา - Musk mallow - Musk Mallow [8]
- Musk mallow - Musk Mallow [8]
Heynea trijuga Roxb. ex Sims
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Meliaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Heynea trijuga Roxb. ex Sims
 
  ชื่อไทย จางจืด
 
  ชื่อท้องถิ่น - แพลนล์เงาะ, มะแฟนข้าว(ขมุ) - กะดอนองอาปี (มลายู-ปัตตานี) โจ้กชน (เชียงใหม่) ชงแก (ยะลา) ตาปลาต้น (เลย) ตาเสือทุ่ง (ปัตตานี) นายใย แฟนน้อย (เลย) มะเฟืองป่า (เชียงใหม่) [8]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ต้น ขนาดเล็ก สูงถึง 18 ม. เปลือกลำต้นสีน้ำตาลเข้ม มีช่องอากาศ หรือมีรอยแตกสี่เหลี่ยมไม่เป็นระเบียบอยู่ทั่วไป กิ่งอ่อนสีน้ำตาลเข้ม หรือออกสีดำ
ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคี่ ยาว 50 ซม. แกนกลางใบสีน้ำตาลแดงถึงสีเขียวอ่อน ก้านใบยาว 5-15 ซม. ใบย่อยมี 3-5 คู่ บางทีพบมี 1 หรือ 6 คู่ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 2-7.5 ซม. ยาว 4.5-20 ซม. ปลายเรียวแหลมโคบเบี้ยว กลม หรือแหลม ขอบเป็นคลื่น ด้านบนเกลี้ยง สีเขียวเข้ม ด้านล่างเกลี้ยง หรือมีขนสีเขียวอ่อนกว่า เส้นใบมี 5-8 คู่ แต่ละเส้นเชื่อมติดกันก่อนถึงขอบใบ
ดอก สีขาว ชมพู หรือสีครีมมีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อกึ่งรูปช่อเชิงหลั่น ตามง่ามใบ ก้านช่อดอกยาว และแตกกิ่งออกไป 3-7 คู่ แต่ละคู่ตั้งฉากกัน แต่ละคู่มีการแต่งกิ่งเรียงไปอีก 1-3 ชั้น ใบประดับเล็ก หลุดร่วงง่าย ก้านดอกย่อยยาว 1.5-2 มม. โคนมีใบประดับที่ติดแน่น 1 คู่ กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 1 มม. สีชมพูอ่อน ปลายจักเป็นพูรูปสามเหลี่ยม ปลายพูกลม หรือเรียวแหลม ด้านนอกมักมีขน ที่ขอบบางครั้งมีขน กลีบดอกมี 4-5 กลีบ รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 0.7-1 มม. ปลายแหลม ด้านนอกมักมีขน ที่ขอบบางที่มีขนเกสรเพศผู้สีเหลือง มี 8-10 อัน สั้นยาวสลับกัน เชื่อมติดกันเป็นท่อยาวประมาณเศษหนึ่งส่วนสามของก้านเกสร ด้านใกล้แกนมีขนแข็ง บางทีพบด้านไกลแกนมีขนเล็กน้อย สีชมพู อับเรณูขนาดประมาณ 1 มม. รูปไข่ ปลายแหลมเป็นติ่ง ค่อนข้างเกลี้ยง สีเหลืองสด ติดอยู่ระหว่างแฉกแหลมจานฐานดอกรูปแหวน นุ่ม รังไข่เกลี้ยง มี 2-3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 2 หน่วย ปลายยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 2-3 พู
ผล แห้ง กลม เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 1-2 ซม. สีชมพู เมล็ด มี 1 เมล็ดรูปไข่ ค่อนข้างโค้งอยู่ในเยื่อสีขาว [8]
 
  ใบ ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคี่ ยาว 50 ซม. แกนกลางใบสีน้ำตาลแดงถึงสีเขียวอ่อน ก้านใบยาว 5-15 ซม. ใบย่อยมี 3-5 คู่ บางทีพบมี 1 หรือ 6 คู่ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 2-7.5 ซม. ยาว 4.5-20 ซม. ปลายเรียวแหลมโคบเบี้ยว กลม หรือแหลม ขอบเป็นคลื่น ด้านบนเกลี้ยง สีเขียวเข้ม ด้านล่างเกลี้ยง หรือมีขนสีเขียวอ่อนกว่า เส้นใบมี 5-8 คู่ แต่ละเส้นเชื่อมติดกันก่อนถึงขอบใบ
 
  ดอก ดอก สีขาว ชมพู หรือสีครีมมีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อกึ่งรูปช่อเชิงหลั่น ตามง่ามใบ ก้านช่อดอกยาว และแตกกิ่งออกไป 3-7 คู่ แต่ละคู่ตั้งฉากกัน แต่ละคู่มีการแต่งกิ่งเรียงไปอีก 1-3 ชั้น ใบประดับเล็ก หลุดร่วงง่าย ก้านดอกย่อยยาว 1.5-2 มม. โคนมีใบประดับที่ติดแน่น 1 คู่ กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 1 มม. สีชมพูอ่อน ปลายจักเป็นพูรูปสามเหลี่ยม ปลายพูกลม หรือเรียวแหลม ด้านนอกมักมีขน ที่ขอบบางครั้งมีขน กลีบดอกมี 4-5 กลีบ รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 0.7-1 มม. ปลายแหลม ด้านนอกมักมีขน ที่ขอบบางที่มีขนเกสรเพศผู้สีเหลือง มี 8-10 อัน สั้นยาวสลับกัน เชื่อมติดกันเป็นท่อยาวประมาณเศษหนึ่งส่วนสามของก้านเกสร ด้านใกล้แกนมีขนแข็ง บางทีพบด้านไกลแกนมีขนเล็กน้อย สีชมพู อับเรณูขนาดประมาณ 1 มม. รูปไข่ ปลายแหลมเป็นติ่ง ค่อนข้างเกลี้ยง สีเหลืองสด ติดอยู่ระหว่างแฉกแหลมจานฐานดอกรูปแหวน นุ่ม รังไข่เกลี้ยง มี 2-3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 2 หน่วย ปลายยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 2-3 พู
 
  ผล ผล แห้ง กลม เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 1-2 ซม. สีชมพู เมล็ด มี 1 เมล็ดรูปไข่ ค่อนข้างโค้งอยู่ในเยื่อสีขาว [8]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ราก ต้มน้ำดื่มแก้อาการปวดท้อง ใช่ร่วมกับ ข้าวเม่านก ขี้อ้น หงอนไก่ และดูลอย(ขมุ)
- เปลือกต้น ราก เป็นยาขมเจริญอาหาร ใบ น้ำต้มแก้อหิวาตกโรค ผล ในคาบสมุทรมลายู ใช้ปนกับยาอื่น เป็นยาเบื่อ
เมล็ด มีพิษ [8]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[8] ก่องกานดา ชยามฤตและลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2545. สมุนไพรไทยตอนที่ 7 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ หอพรรณไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง